เคยเป็นมั้ย เวียนศีรษะบ้านหมุน

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนหมายถึงอาการที่มีความรู้สึกว่าตนเองหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวกำลังเคลื่อนไหวซึ่งมักเป็นแบบหมุนๆ ทั้งที่จริง ๆแล้วตนเองอยู่กับที่และไม่มีการเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าร่างกายเคลื่อนไหวมากกว่าที่ขยับจริงหรือเสียการทรงตัวชั่วขณะ อาการนี้มักเกิดจากความผิดปกติของระบบการทรงตัวของร่างกายในหูชั้นใน (vestibular system) โดยทั่วไปแล้วอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจะเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการซีด และเหงื่อออก ซึ่งมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน และอาจเป็นอย่างเฉียบพลัน เรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ

ความเครียดภัยร้าย ไม่รู้ตัว

ความเครียด  เป็นการปฏิกิริยาของร่างกายต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือคุกคามต่อร่างกาย การเปลี่ยนแปลงในชีวิตไม่ว่าจะด้านดีหรือร้ายอาจก่อให้เกิดความเครียดได้ เมื่อเผชิญหน้ากับภัยคุกคามหรือความลำบาก ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะ “สู้” หรือ “หนี” บางคนเมื่อมีความกังวลก็จะเกิดความเครียดทางอารมณ์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชีวิตได้

แผลในทางเดินอาหาร (Peptic Ulcer)

แผลในทางเดินอาหารโดยทั่วไปมักหมายถึง แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นแผลในทางเดินอาหารเกิดขึ้นจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารระคายเคืองและทำลายเนื้อเยื่อในทางเดินอาหารกรดที่มากเกินไปร่วมกับการติดเชื้อ เช่น Helicobacter pylori มักพบว่าเป็นสาเหตุของแผลในทางเดินอาหาร ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ความเครียด การ-รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อาหารรสเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด การอดอาหารข้ามมื้อ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และยาบางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดแผลได้ แผลในทางเดินอาหารส่วนมากสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตามอาการอาจกลับเป็นซ้ำและรุนแรงยิ่งขึ้น หากปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดแผลนั้นไม่ได้รับการแก้ไข

การดูแลบาดแผล (Wound Care)

บาดแผล (Wound) คือ การที่ผิวหนัง และเนื้อเยื่อต่างๆมีการฉีกขาดเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ (Trauma) ซึ่งการเกิดบาดแผลจะทำให้เกิดการปริแยก หรือฉีกขาดของผิวหนัง และเนื้อเยื่อปกติ ซึ่งการฉีกขาดนี้เป็นช่องทางให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่เนื้อเยื่อได้ แต่ร่างกายก็มีกระบวนการที่จะทำให้บาดแผลหาย ให้มีการประสานผิวหนังให้กลับมาติดกันได้

กระดูกพรุนกับการรักษาในปัจจุบัน

  โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทีกระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก ข้อเข่า หรือข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้โรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในผู้สูงอายุ   ก่อนอื่น เราคงต้องมาเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายกันก่อน โครงร่างของร่างกายประกอบด้วยกระดูก ข้อต่อ และกระดูกอ่อน ซึงทำหน้าที่เป็นโครงสร้างค้ำจุนทั้งร่างกาย กระดูกจะเกิดการสึกกร่อนอย่างต่อเนื่องในทุกการเคลื่อนไหว ลักษณะเฉพาะที่สำคัญต่อการทำหน้าที่อย่างปกติของกระดูกและมีผลอย่างมากต่อปริมาณแคลเซียมในร่างกาย คือ ความเข้มแข็งและความหนาแน่นของกระดูก กระดูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและอาจต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นกระดูกจะเริ่มเสื่อมลง ส่งผลให้กระดูกบางลง อ่อนแอ และเปราะ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคกระดูกพรุน   ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ เพศ อายุ เชื้อชาติ พันธุกรรม และประวัติครอบครัว รวมทั้งวิถีชีวิตและอาหารที่รับประทาน โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชายด้วยสาเหตุหลัก คือ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนเมื่อถึงวัยประจำเดือน โดยทั่วไป จะมีการวัดค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density : BMD)  เพื่อประเมินโรคกระดูกพรุน คำแนะนำผู้ป่วย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกกล้ามเนื้อ รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และเป็นคนกระฉับกระเฉง…

กระดูกพรุน ที่มาของปัญหา (ตอนที่ 2)

มาต่อตอนที่ 2 กันนะคะ ปัญหากระดูกพรุน สาเหตุของการอักเสบเกิดจากอะไร และการค้นพบสารที่ช่วยลดการอักเสบของกระดูกและข้อ โดย ภก.ดร.ทวีศักดิ์ สีทองสุรภณา

 

 

กระดูกพรุน ที่มาของปัญหา (ตอนที่ 1)

 
ปัญหากระดูกพรุน โดย ภก.ดร.ทวีศักดิ์ สีทองสุรภณา ลองมาดูกันนะคะ กระดูกพรุนเกิดจากอะไร และเราจะมีวิธีป้องกันอย่างไร
 

 

 

สาเหตุที่น้ำหนักตัวไม่ลดลง เพราะอะไรกัน?

หลายๆคนอาจจะคิดว่าการออกกำลังกายหรือลดการทานอาหารเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งคือการลดความอ้วนที่ดีที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องเลย  เพราะทั้งสองสิ่งจะต้องทำควบคู่ไป มาลองดูสิว่าตอนนี้ที่น้ำหนักไม่ลดเพราะทำแบบนี้อยู่หรือเปล่า

 

1 เลือกออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ควบคุมการกินอาหาร

 

2 ควบคุมอาหารอย่างเดียว ไม่ได้ออกกำลังกาย

 

3 ใช้วิธีอดอาหาร

 

4 ออกกำลังกายแบบเดิม ๆ ไม่ได้เปลี่ยนวิธี

 

5 คิดว่าแค่กินอาหารเช้าควบคู่กับการกินตรงเวลาทุกมื้อก็ลดความอ้วนได้

 

6 คิดว่าออกกำลังกายแบบไหนก็ลดน้ำหนักได้เหมือนกัน

 

ออกกำลังกายเมื่อว่าง ไม่มีโปรแกรมที่ชัดเจน ว่างเมื่อไรก็ค่อยทำ

 

หากถูกมากกว่า 1 ข้อแปลว่าคุณกำลังติดบ่วงความอ้วนอยู่ และต้องเปลี่ยนวิธีด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตด้วยนะคะ

 

 

Ref : สสส

 

ไฮยาลูรอน พลังแห่งความอ่อนเยาว์

หลายๆคนคงเคยได้ยินชื่อเครื่องสำอางต่างๆว่ามีส่วนผสมของสารไฮยาลูรอน แต่เคยสงสัยไหมค่ะว่าเจ้าสาร ไฮยาลูรอนมันคืออะไรและมีส่วนช่วยในเรื่องใดบ้าง วันนี้ แข็งแรง.com มีคำตอบมาไขข้อข้องใจค่ะ

การดูแลเท้าในผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุการดูแลเท้าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่คอยรับน้ำหนัก ทำหน้าที่คอยพยุงร่างกาย และเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทมากมาย ปัญหาหนึ่งพอแก่ตัวลงอายุเพิ่มมากขึ้นแล้วมักจะพบ คือมีปัญหาเรื่องเท้าไม่มากก็น้อย ถ้าท่านลองคิดดูว่าในวันหนึ่งหนึ่ง มนุษย์เรายืน เดินหรือวิ่งโดยอาศัยเท้าทั้งสิ้นอย่างน้อยวันละ 6 ชม. ต้องเดินเป็นพันพันก้าว ถ้าคิดเป็นปีจะเดินมาแล้วมากมายขนาดไหนและถ้าเป็น 65 ถึง 70 ปีดังเช่นคนสูงอายุ ท่านคงจะตระหนักดีว่า เท้าได้ถูกใช้งานมากอย่าง การเสื่อมสลายตามสภาพการใช้งาน ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงหนีไม่พ้น วันนี้ทาง แข็งแรง.com มีวิธีการดูแลเท้าด้วยวิธีง่ายๆมาฝากค่ะ 1.ดูแลสุขอนามัยของเท้า โดย – ล้างเท้าทำความสะอาดทุกวัน ไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดหรือแช่เท้าในน้ำนานเกิน 10 นาที ใช้สบู่อ่อนที่มี moisturizer แล้วเช็ดด้วยผ้าขนหนูให้แห้งโดยเฉพาะระหว่างนิ้มเท้า อาจใช้ครีมโลชั่นทาหลังจากเช็ดแห้งแล้วแต่ต้องระวังไม่ใช้ครีมที่ซอกนิ้ว เพราะจะอับชื้นง่าย – ตรวจเท้าและนิ้วเท้าทุกวัน สังเกตความผิดปกติ รอยกดแดง หรือรอยถลอก ใช้กระจกตรวจให้ทั่วทุกด้าน หรือให้ผู้ดูแลตรวจให้ – ตัดและตะไบเล็บให้เป็นแนวตรงด้วยความระมัดระวัง อย่าตัดเป็นรูปโค้งเข้ามุม ถ้าไม่ถนัด ให้ผู้ดูแลทำให้ ไม่ตัดตาปลาหรือส่วนหนังด้วยตนเอง – ไม่สวมอะไรที่รัดส่วนขาหรือต้นขาแน่น เช่น ถุงน่อง หรือถุงเท้ารัด เพาะจะทำให้เท้าบวมง่าย…