ความเครียดภัยร้าย ไม่รู้ตัว

ความเครียด  เป็นการปฏิกิริยาของร่างกายต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือคุกคามต่อร่างกาย การเปลี่ยนแปลงในชีวิตไม่ว่าจะด้านดีหรือร้ายอาจก่อให้เกิดความเครียดได้ เมื่อเผชิญหน้ากับภัยคุกคามหรือความลำบาก ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะ “สู้” หรือ “หนี” บางคนเมื่อมีความกังวลก็จะเกิดความเครียดทางอารมณ์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชีวิตได้

แผลในทางเดินอาหาร (Peptic Ulcer)

แผลในทางเดินอาหารโดยทั่วไปมักหมายถึง แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นแผลในทางเดินอาหารเกิดขึ้นจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารระคายเคืองและทำลายเนื้อเยื่อในทางเดินอาหารกรดที่มากเกินไปร่วมกับการติดเชื้อ เช่น Helicobacter pylori มักพบว่าเป็นสาเหตุของแผลในทางเดินอาหาร ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ความเครียด การ-รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อาหารรสเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด การอดอาหารข้ามมื้อ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และยาบางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดแผลได้ แผลในทางเดินอาหารส่วนมากสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตามอาการอาจกลับเป็นซ้ำและรุนแรงยิ่งขึ้น หากปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดแผลนั้นไม่ได้รับการแก้ไข

การดูแลบาดแผล (Wound Care)

บาดแผล (Wound) คือ การที่ผิวหนัง และเนื้อเยื่อต่างๆมีการฉีกขาดเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ (Trauma) ซึ่งการเกิดบาดแผลจะทำให้เกิดการปริแยก หรือฉีกขาดของผิวหนัง และเนื้อเยื่อปกติ ซึ่งการฉีกขาดนี้เป็นช่องทางให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่เนื้อเยื่อได้ แต่ร่างกายก็มีกระบวนการที่จะทำให้บาดแผลหาย ให้มีการประสานผิวหนังให้กลับมาติดกันได้

กระดูกพรุนกับการรักษาในปัจจุบัน

  โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทีกระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก ข้อเข่า หรือข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้โรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในผู้สูงอายุ   ก่อนอื่น เราคงต้องมาเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายกันก่อน โครงร่างของร่างกายประกอบด้วยกระดูก ข้อต่อ และกระดูกอ่อน ซึงทำหน้าที่เป็นโครงสร้างค้ำจุนทั้งร่างกาย กระดูกจะเกิดการสึกกร่อนอย่างต่อเนื่องในทุกการเคลื่อนไหว ลักษณะเฉพาะที่สำคัญต่อการทำหน้าที่อย่างปกติของกระดูกและมีผลอย่างมากต่อปริมาณแคลเซียมในร่างกาย คือ ความเข้มแข็งและความหนาแน่นของกระดูก กระดูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและอาจต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นกระดูกจะเริ่มเสื่อมลง ส่งผลให้กระดูกบางลง อ่อนแอ และเปราะ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคกระดูกพรุน   ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ เพศ อายุ เชื้อชาติ พันธุกรรม และประวัติครอบครัว รวมทั้งวิถีชีวิตและอาหารที่รับประทาน โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชายด้วยสาเหตุหลัก คือ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนเมื่อถึงวัยประจำเดือน โดยทั่วไป จะมีการวัดค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density : BMD)  เพื่อประเมินโรคกระดูกพรุน คำแนะนำผู้ป่วย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกกล้ามเนื้อ รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และเป็นคนกระฉับกระเฉง…

กระดูกพรุน ที่มาของปัญหา (ตอนที่ 2)

มาต่อตอนที่ 2 กันนะคะ ปัญหากระดูกพรุน สาเหตุของการอักเสบเกิดจากอะไร และการค้นพบสารที่ช่วยลดการอักเสบของกระดูกและข้อ โดย ภก.ดร.ทวีศักดิ์ สีทองสุรภณา

 

 

กระดูกพรุน ที่มาของปัญหา (ตอนที่ 1)

 
ปัญหากระดูกพรุน โดย ภก.ดร.ทวีศักดิ์ สีทองสุรภณา ลองมาดูกันนะคะ กระดูกพรุนเกิดจากอะไร และเราจะมีวิธีป้องกันอย่างไร
 

 

 

สาเหตุที่น้ำหนักตัวไม่ลดลง เพราะอะไรกัน?

หลายๆคนอาจจะคิดว่าการออกกำลังกายหรือลดการทานอาหารเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งคือการลดความอ้วนที่ดีที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องเลย  เพราะทั้งสองสิ่งจะต้องทำควบคู่ไป มาลองดูสิว่าตอนนี้ที่น้ำหนักไม่ลดเพราะทำแบบนี้อยู่หรือเปล่า

 

1 เลือกออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ควบคุมการกินอาหาร

 

2 ควบคุมอาหารอย่างเดียว ไม่ได้ออกกำลังกาย

 

3 ใช้วิธีอดอาหาร

 

4 ออกกำลังกายแบบเดิม ๆ ไม่ได้เปลี่ยนวิธี

 

5 คิดว่าแค่กินอาหารเช้าควบคู่กับการกินตรงเวลาทุกมื้อก็ลดความอ้วนได้

 

6 คิดว่าออกกำลังกายแบบไหนก็ลดน้ำหนักได้เหมือนกัน

 

ออกกำลังกายเมื่อว่าง ไม่มีโปรแกรมที่ชัดเจน ว่างเมื่อไรก็ค่อยทำ

 

หากถูกมากกว่า 1 ข้อแปลว่าคุณกำลังติดบ่วงความอ้วนอยู่ และต้องเปลี่ยนวิธีด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตด้วยนะคะ

 

 

Ref : สสส

 

การดูแลเท้าในผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุการดูแลเท้าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่คอยรับน้ำหนัก ทำหน้าที่คอยพยุงร่างกาย และเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทมากมาย ปัญหาหนึ่งพอแก่ตัวลงอายุเพิ่มมากขึ้นแล้วมักจะพบ คือมีปัญหาเรื่องเท้าไม่มากก็น้อย ถ้าท่านลองคิดดูว่าในวันหนึ่งหนึ่ง มนุษย์เรายืน เดินหรือวิ่งโดยอาศัยเท้าทั้งสิ้นอย่างน้อยวันละ 6 ชม. ต้องเดินเป็นพันพันก้าว ถ้าคิดเป็นปีจะเดินมาแล้วมากมายขนาดไหนและถ้าเป็น 65 ถึง 70 ปีดังเช่นคนสูงอายุ ท่านคงจะตระหนักดีว่า เท้าได้ถูกใช้งานมากอย่าง การเสื่อมสลายตามสภาพการใช้งาน ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงหนีไม่พ้น วันนี้ทาง แข็งแรง.com มีวิธีการดูแลเท้าด้วยวิธีง่ายๆมาฝากค่ะ 1.ดูแลสุขอนามัยของเท้า โดย – ล้างเท้าทำความสะอาดทุกวัน ไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดหรือแช่เท้าในน้ำนานเกิน 10 นาที ใช้สบู่อ่อนที่มี moisturizer แล้วเช็ดด้วยผ้าขนหนูให้แห้งโดยเฉพาะระหว่างนิ้มเท้า อาจใช้ครีมโลชั่นทาหลังจากเช็ดแห้งแล้วแต่ต้องระวังไม่ใช้ครีมที่ซอกนิ้ว เพราะจะอับชื้นง่าย – ตรวจเท้าและนิ้วเท้าทุกวัน สังเกตความผิดปกติ รอยกดแดง หรือรอยถลอก ใช้กระจกตรวจให้ทั่วทุกด้าน หรือให้ผู้ดูแลตรวจให้ – ตัดและตะไบเล็บให้เป็นแนวตรงด้วยความระมัดระวัง อย่าตัดเป็นรูปโค้งเข้ามุม ถ้าไม่ถนัด ให้ผู้ดูแลทำให้ ไม่ตัดตาปลาหรือส่วนหนังด้วยตนเอง – ไม่สวมอะไรที่รัดส่วนขาหรือต้นขาแน่น เช่น ถุงน่อง หรือถุงเท้ารัด เพาะจะทำให้เท้าบวมง่าย…

โยคะ การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

วันนี้ แข็งแรง.com จะมาพูดถึงเรื่องของ “โยคะภาวนา” ซึ่งเป็นศาสตร์เพื่อการฝึกฝนให้จิตเป็นสมาธิ ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและใจอย่างสมดุล และส่งผลต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายโดยรวม ซึ่งโยคะภาวนา คือการฝึกโยคะที่มุ่งเน้นการผสานอาสนะต่างๆ เข้ากับการฝึกปราณายามะ เพื่อสร้างดุลภาพของร่างกายและจิตใจ ซึ่งนอกจากจะส่งเสริมสุขภาพทางกายให้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้จิตใจสงบ ระงับ ละผ่อนคลาย ก่อให้เกิดสมาธิและปัญญา ทำให้จิตใจผ่องใส ส่งผลต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายโดยรวม ทั้งยังได้เสริมความยืดหยุ่นของร่างกาย ตามหลักอาสนะ ตลอดจนได้ประโยชน์ ต่อสุขภาพจากการบำบัดของอาสนะต่างๆ สำหรับท่วงท่าในการฝึกโยคะภาวนาไม่ได้มีท่าที่ตายตัว เนื่องจากพอเป็นภาวนา การฝึกต้องเป็นท่าที่เราอยู่ได้อย่างสบาย เพื่อที่เราจะได้รับรู้ในท่าได้ แต่หากเป็นท่ายาก แค่อยู่ในท่าค้างไว้ก็จะเหมื่อย เกร็ง จะให้อยู่แบบจนรับรู้ถึงตัวเรามากมันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะในใจผู้ฝึกก็จะนึกถึงว่าเมื่อไรจะคืนท่า แต่ถ้าเป็นท่าที่เขาอยู่ได้สบาย ก็จะไล่ฝึกได้เลยตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ก้ม แอ่น บิด เอียง อาทิเช่น การเอียงศีรษะเอียงไปทางซ้าย ขวา หน้า หลัง แต่ให้จิตอยู่กับลมหายใจ การเหยียดยืดลำตัว แขน ขา เคลื่อนไหวร่างกายให้ครบทุกทิศทาง เป็นต้น ทั้งนี้ การเริ่มต้นฝึกสำหรับผู้สูงวัยอาจมีการเริ่มต้นด้วยท่าง่ายๆ และมีอุปกรณ์ช่วยในการฝึก เช่น เบาะรองนั่ง เก้าอี้ หรือใช้ผนังช่วยในบางอาสนะ…

เด็กอ้วน น่ารัก จริงหรอ?

เจ้าหนูจ้ำม่ำ เดินอุ้ยอ้าย ใครเห็นเป็นต้องเกิดอาการ มันเขี้ยว อยากเข้าไปฟัด ไปกอด แต่รู้หรือไม่ว่า ความน่ารักนั้นแฝงไว้ด้วยโรคร้ายที่พร้อมทำลายสุขภาพและเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตในอนาคตได้