ทำไม ขี้หลง ขี้ลืม จังนะ

อยู่ๆก็จำชื่อเพื่อนไม่ได้ ซะงั้น หรือ เพิ่งทำกิจกรรมบางอย่างเสร็จไปเมื่อซักครู่นี้เอง แต่จำไม่ได้ซะแล้วว่าทำอะไรลงไป อาการเหล่านี้เราเรียกว่าอาการขี้ลืมซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดสมาธิ พักผ่อนน้อย เร่งรีบเกินไป ทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน หรือรับประทานยาบางอย่างก็เป็นสาเหตุให้เกิดได้ บางคนขี้ลืมอย่างรุนแรง ลืมบ่อยๆเป็นประจำ เราจะเรียกอาการเหล่านี้ว่าอาการหลงลืมซึ่งอาการจะหนักกว่าขี้ลืม สาเหตุของอาการหลงลืมอาจเกิดจากโรคสมองเสื่อม มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล การหลงลืมอาจเกิดขึ้นได้ตามวัยของแต่ละคน

เรียนรู้ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Tract Infection )

การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นการติดเชื้อที่เกิดจาก

เชื้อแบคทีเรีย
ไวรัส

เจ็บคอ อีกแล้ว ทำไมกันนะ?

เจ็บคอ เป็นภาวะที่ไม่สบายในลำคอ ทำให้กลืนลำบากและเจ็บคอ ผู้ที่เจ็บคอมักมีอาการคอแห้ง แดง แสบและระคายเคือง สาเหตุที่ทำให้เจ็บคอที่พบบ่อยคือ การติดเชื้อไวรัส สาเหตุอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การสัมผัสกับมลภาวะและสารระคายเคืองในอากาศ (เช่น ควันบุหรี่) อากาศแห้ง การใช้เสียงมาก โรคกรดไหลย้อน

เคยเป็นมั้ย เวียนศีรษะบ้านหมุน

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนหมายถึงอาการที่มีความรู้สึกว่าตนเองหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวกำลังเคลื่อนไหวซึ่งมักเป็นแบบหมุนๆ ทั้งที่จริง ๆแล้วตนเองอยู่กับที่และไม่มีการเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าร่างกายเคลื่อนไหวมากกว่าที่ขยับจริงหรือเสียการทรงตัวชั่วขณะ อาการนี้มักเกิดจากความผิดปกติของระบบการทรงตัวของร่างกายในหูชั้นใน (vestibular system) โดยทั่วไปแล้วอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจะเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการซีด และเหงื่อออก ซึ่งมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน และอาจเป็นอย่างเฉียบพลัน เรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ

ความเครียดภัยร้าย ไม่รู้ตัว

ความเครียด  เป็นการปฏิกิริยาของร่างกายต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือคุกคามต่อร่างกาย การเปลี่ยนแปลงในชีวิตไม่ว่าจะด้านดีหรือร้ายอาจก่อให้เกิดความเครียดได้ เมื่อเผชิญหน้ากับภัยคุกคามหรือความลำบาก ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะ “สู้” หรือ “หนี” บางคนเมื่อมีความกังวลก็จะเกิดความเครียดทางอารมณ์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชีวิตได้

แผลในทางเดินอาหาร (Peptic Ulcer)

แผลในทางเดินอาหารโดยทั่วไปมักหมายถึง แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นแผลในทางเดินอาหารเกิดขึ้นจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารระคายเคืองและทำลายเนื้อเยื่อในทางเดินอาหารกรดที่มากเกินไปร่วมกับการติดเชื้อ เช่น Helicobacter pylori มักพบว่าเป็นสาเหตุของแผลในทางเดินอาหาร ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ความเครียด การ-รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อาหารรสเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด การอดอาหารข้ามมื้อ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และยาบางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดแผลได้ แผลในทางเดินอาหารส่วนมากสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตามอาการอาจกลับเป็นซ้ำและรุนแรงยิ่งขึ้น หากปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดแผลนั้นไม่ได้รับการแก้ไข

กระดูกพรุนกับการรักษาในปัจจุบัน

  โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทีกระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก ข้อเข่า หรือข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้โรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในผู้สูงอายุ   ก่อนอื่น เราคงต้องมาเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายกันก่อน โครงร่างของร่างกายประกอบด้วยกระดูก ข้อต่อ และกระดูกอ่อน ซึงทำหน้าที่เป็นโครงสร้างค้ำจุนทั้งร่างกาย กระดูกจะเกิดการสึกกร่อนอย่างต่อเนื่องในทุกการเคลื่อนไหว ลักษณะเฉพาะที่สำคัญต่อการทำหน้าที่อย่างปกติของกระดูกและมีผลอย่างมากต่อปริมาณแคลเซียมในร่างกาย คือ ความเข้มแข็งและความหนาแน่นของกระดูก กระดูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและอาจต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นกระดูกจะเริ่มเสื่อมลง ส่งผลให้กระดูกบางลง อ่อนแอ และเปราะ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคกระดูกพรุน   ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ เพศ อายุ เชื้อชาติ พันธุกรรม และประวัติครอบครัว รวมทั้งวิถีชีวิตและอาหารที่รับประทาน โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชายด้วยสาเหตุหลัก คือ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนเมื่อถึงวัยประจำเดือน โดยทั่วไป จะมีการวัดค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density : BMD)  เพื่อประเมินโรคกระดูกพรุน คำแนะนำผู้ป่วย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกกล้ามเนื้อ รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และเป็นคนกระฉับกระเฉง…

สาเหตุที่น้ำหนักตัวไม่ลดลง เพราะอะไรกัน?

หลายๆคนอาจจะคิดว่าการออกกำลังกายหรือลดการทานอาหารเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งคือการลดความอ้วนที่ดีที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องเลย  เพราะทั้งสองสิ่งจะต้องทำควบคู่ไป มาลองดูสิว่าตอนนี้ที่น้ำหนักไม่ลดเพราะทำแบบนี้อยู่หรือเปล่า

 

1 เลือกออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ควบคุมการกินอาหาร

 

2 ควบคุมอาหารอย่างเดียว ไม่ได้ออกกำลังกาย

 

3 ใช้วิธีอดอาหาร

 

4 ออกกำลังกายแบบเดิม ๆ ไม่ได้เปลี่ยนวิธี

 

5 คิดว่าแค่กินอาหารเช้าควบคู่กับการกินตรงเวลาทุกมื้อก็ลดความอ้วนได้

 

6 คิดว่าออกกำลังกายแบบไหนก็ลดน้ำหนักได้เหมือนกัน

 

ออกกำลังกายเมื่อว่าง ไม่มีโปรแกรมที่ชัดเจน ว่างเมื่อไรก็ค่อยทำ

 

หากถูกมากกว่า 1 ข้อแปลว่าคุณกำลังติดบ่วงความอ้วนอยู่ และต้องเปลี่ยนวิธีด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตด้วยนะคะ

 

 

Ref : สสส

 

เผย เคล็ดไม่ลับ ลดทานหวาน

หลายๆท่านก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าการที่เราทานอาหารติดรสหวานไม่ใช่เรื่องดีเลยสักนิด เนื่องจากเป็นบ่อเกิดของโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวาน วันนี้เรามีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานมาฝากซึ่งอาจจะช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้วิธีการลดความหวานจากพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป แผนที่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการปรับพฤติกรรม ซึ่งแผนที่ดีควรเป็นแผนที่เหมาะกับคนคนนั้น เหมาะกับวิถีชีวิต สภาพจิตใจ แรงจูงใจ และความพร้อมในการลงมือทำ มาดูกันว่าเราจะลดหวานได้อย่างไรด้วยวิธีเหล่านี้
หาแรงจูงใจให้ตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจทางบวกหรือทางลบ เช่น แรงจูงใจทางบวกอาจจะมาจากการอยากมีสุขภาพดีอายุยืน อยากหุ่นดี แรงจูงใจทางลบอาจมาจากการกลัวคนอื่นไม่ยอมรับ กลัวเป็นภาระให้คนที่รัก หรือกลัวใส่เสื้อผ้าได้ไม่ดูดี เป็นต้น
มีเป้าหมายที่ชัดเจน  
เช่น จะหยุดดื่มน้ำอัดลมให้ได้ภายในปีนี้ จะลดขนมหวานลงหนึ่งมื้อในทุกวัน ไม่กินขนมขบเคี้ยวระหว่างเล่นคอมพิวเตอร์ จะเดินอย่างน้อยวันละ 15 นาที จะฝึกหายใจด้วยท้องเพื่อผ่อนคลายเป็นเวลา 20 นาทีทุกคืน โดยให้อยู่ในขอบเขตที่ว่า เราจะทำอะไร และทำมากน้อยแค่ไหน ภายในเวลาเท่าไร1 วันแผนการลดหวานให้สำเร็จ
 
โดยเริ่มกันจาก 2 วิธีง่ายๆเพื่อค่อยๆปรับเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมการทานที่ดี ยังไงลองไปทำดูกันนะคะ
 
Reference : สสส.

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

เรื่องน่ารู้ของการผ่าตัด “กระเพาะอาหาร” เพื่อ “ลดน้ำหนัก”

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก คือ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลง และอาจจะมีการผ่าตัดเพื่อปรับเปลี่ยนทางเดินอาหารใหม่ ทำให้การดูดซึมอาหารลดลงด้วย ทั้ง 2 กลไกนี้จะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารแล้วรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น และก็ทำให้น้ำหนักลดลงในที่สุด