- บุคคลที่ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์(EQ) ไม่สามารถยอมรับ และรับรู้ด้วยความเข้าใจว่า ลักษณะของหน้าอก หลังจากทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือมีความกังวลมากผิดปกติ หรือมีคาดหวังผลการผ่าตัดสูงเกินกว่าที่แพทย์จะทำได้
- บุคคลผู้มีภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ และจิตใจ เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
- บุคคลที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถทำการผ่าตัดได้ บุคคลผู้มีโรคทางศัลยกรรม หรืออายุรกรรมที่ยาควบคุมไม่ได้ ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเรื้อรัง มีโรคประจำตัวที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงหากทำการผ่าตัด เช่น โรคหัวใจ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับปอด โรคภูมิต้านทานบกพร่อง (HIV) ที่ยังมีอาการ และมีค่า CD4* ต่ำกว่าปกติ โรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานตนเอง (Lupus) เช่น SLE* โรคมะเร็งเต้านม ที่ยังไม่ทราบระยะที่แน่นอน หรืออยู่ในระหว่างรับยาเคมีบำบัด เป็นต้น
- บุคคลผู้มีผิวหนังที่ไม่ยืดหยุ่นเพียงพอ ที่จะเสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมเทียมได้ เช่น เคยได้รับการฉายรังสีในปริมาณที่สูงมาก่อน เป็นต้น
- บุคคลที่เป็นโรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของผิวหนัง (Scleroderma) เช่น โรค PSS* (Progressive systemic sclerosis)
- บุคคลผู้มีภาวะร่างกายเกิดการติดเชื้อ หรือเป็นฝี หนองที่ใดที่หนึ่งในร่างกาย
- บุคคลผู้อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร
- มีประวัติการแพ้สารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
- บุคคลผู้มีผิวปกคลุม (หน้าอก) ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการผ่าตัดเสริมหน้าอก เช่น มีผิวหนังที่บางมาก มีเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่พอ และเคยผ่านการฉายรังสีมาหลายครั้ง เป็นต้น
- บุคคลที่ยุ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่มีเวลาพอที่จะดูแลตนเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ได้อย่างเคร่งครัด
- บุคคลผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้
