เผย เคล็ดไม่ลับ ลดทานหวาน

หลายๆท่านก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าการที่เราทานอาหารติดรสหวานไม่ใช่เรื่องดีเลยสักนิด เนื่องจากเป็นบ่อเกิดของโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวาน วันนี้เรามีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานมาฝากซึ่งอาจจะช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้วิธีการลดความหวานจากพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป แผนที่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการปรับพฤติกรรม ซึ่งแผนที่ดีควรเป็นแผนที่เหมาะกับคนคนนั้น เหมาะกับวิถีชีวิต สภาพจิตใจ แรงจูงใจ และความพร้อมในการลงมือทำ มาดูกันว่าเราจะลดหวานได้อย่างไรด้วยวิธีเหล่านี้
หาแรงจูงใจให้ตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจทางบวกหรือทางลบ เช่น แรงจูงใจทางบวกอาจจะมาจากการอยากมีสุขภาพดีอายุยืน อยากหุ่นดี แรงจูงใจทางลบอาจมาจากการกลัวคนอื่นไม่ยอมรับ กลัวเป็นภาระให้คนที่รัก หรือกลัวใส่เสื้อผ้าได้ไม่ดูดี เป็นต้น
มีเป้าหมายที่ชัดเจน  
เช่น จะหยุดดื่มน้ำอัดลมให้ได้ภายในปีนี้ จะลดขนมหวานลงหนึ่งมื้อในทุกวัน ไม่กินขนมขบเคี้ยวระหว่างเล่นคอมพิวเตอร์ จะเดินอย่างน้อยวันละ 15 นาที จะฝึกหายใจด้วยท้องเพื่อผ่อนคลายเป็นเวลา 20 นาทีทุกคืน โดยให้อยู่ในขอบเขตที่ว่า เราจะทำอะไร และทำมากน้อยแค่ไหน ภายในเวลาเท่าไร1 วันแผนการลดหวานให้สำเร็จ
 
โดยเริ่มกันจาก 2 วิธีง่ายๆเพื่อค่อยๆปรับเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมการทานที่ดี ยังไงลองไปทำดูกันนะคะ
 
Reference : สสส.

ปรับพฤติกรรมการทานเพื่อลดอาการท้องผูกในลูกน้อย

อาการท้องผูกในเด็ก ถือว่าเป็นปัญหาที่พบได้มาก แต่ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง เพราะถือเป็นเพียงอาการหนึ่งซึ่งเกิดจากพฤติกรรม โดยพบว่าร้อยละ 95% ของอาการท้องผูกในเด็กนั้น มักเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

รวมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน

เบอร์โทรฉุกเฉิน รถพยาบาล  แจ้งเหตุฉุกเฉิน รถเสีย ทางด่วน แจ้งอุบัติเหตุ เบอร์โทรฉุกเฉิน รวบรวมเบอร์โทรฉุกเฉิน เบอร์โทรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หน่วยงานต่างๆ เมื่อต้องการความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน เบอร์แจ้งเจ็บป่วยฉุกเฉิน เรียกรถพยาบาล แจ้งรถเสียบนทางด่วน อุบัติเหตุบนทางด่วน เบอร์แจ้งธนาคารอายัดบัญชี บัตรเครดิต กรณีกระเป๋าตังหาย แจ้งเหตุไฟฟ้าดับ ประปา ไฟไหม้ อัคคีภัย อุบัติเหตุ และอื่น ๆ   เบอร์โทรฉุกเฉิน รถพยาบาล แจ้งเหตุ กู้ชีพ กู้ภัย แจ้งผู้ป่วยฉุกเฉิน แจ้งเจ็บป่วยฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข โทร. 1669 ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร. 1646 ศูนย์ประชาบดี แจ้งคนหาย โทร. 1300 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356 หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร. 1554 ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร โทร. 1555…

การผ่าตัดดูดไขมัน LIPOSUCTION

เป็นการผ่าตัดที่ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินตรงบริเวณที่ไม่ต้องการ เช่น ท้องน้อย ต้นขา สะโพก เข่า แขน คาง แก้ม และคอ ฯลฯ การดูดไขมันเป็นการลดสัดส่วนเฉพาะที่ ไม่ใช่การลดน้ำหนัก เพื่อให้รูปร่างแต่ละส่วนนั้นๆ ดูดีขึ้น หลายคนคิดว่าถ้าดูดไขมันแล้วจะผอมลงมากคงต้องบอกว่าดูดไขมันครั้งเดียว แล้วจะผอมไม่เป็นความจริง วิธีนี้จึงไม่เหมาะสำหรับคนอ้วนหรือถ้าคนอ้วนก็จะต้องลดน้ำหนักลงเสียก่อน กระทั่งสามารถรักษาน้ำหนักตัวคงที่เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี จนเหลือไขมันส่วนเกินเฉพาะที่ นอกจากนี้คุณยังควรมีผิวหนังที่ยืดหยุ่น ไม่ลายหรือหย่อนยานเพื่อว่าหลังจากดูดไขมันแล้วผิวหนังคุณจะได้หดตามได้ เพราะถ้าผิวหนังยืดหยุ่นได้ไม่ดี หลังการดูดไขมัน ผิวหนังก็จะหย่อนยานมากขึ้น ดังนั้น การดูดไขมันควรที่จะทำในคนที่อายุไม่มากเกินไป อย่างไรก็ตามถ้ายอมรับได้ในบางตำแหน่ง ว่าสามารถยอมรับการหย่อนยานเล็กน้อยเช่นด้านข้างๆ หน้าท้องก็สามารถทำผ่าตัดได้ สำหรับผู้ ที่ต้องการลดน้ำหนักควรเลือกใช้วิธีอื่นๆ เช่น การควบคุมอาหาร, ออกกำลังกาย เป็นต้น การดูดไขมันก็คือการดูดไขมันที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนังไม่ใช่ไขมันตื้นๆที่ เกาะกับผิวหนัง ฉะนั้น จึงสามารถดูดไขมันบริเวณบางส่วนของร่างกายเท่านั้น ไม่ใช่ทุกส่วนที่สามารถดูดไขมันได้ ตำแหน่งที่สามารถดูดได้เช่น ลำคอและใต้คาง ต้นแขน แผ่นหลัง เอว สะโพกและก้น หน้าท้อง ต้นขาด้านนอก ไม่ว่าจะเป็นการดูดไขมันด้วยวิธีไหน…

เป็นมะเร็งเต้านม จะผ่าตัดเสริมหน้าอกได้หรือไม่?

ปัจจุบันการเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนการผ่าตัดเสริมสร้างหน้าอกใหม่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมนั้นได้มีมานานแล้ว และมีวิวัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าไปกว่าในอดีตมาก ซึ่งการผ่าตัดเสริมหน้าอกนี้จะขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา และวินิจฉัยของแพทย์แต่ละรายไป โดยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะเป็นผู้ให้คำปรึกษากับผู้ป่วยอย่างละเอียด ซึ่งหากท่านต้องการผ่าตัดเสริมเต้านม หลังจากที่ทำการรักษามะเร็งจนหายขาดดีแล้ว ก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกคน จะทำการผ่าตัดเสริมหน้าอกได้ด้วยเช่นกัน!

 

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดเสริมเต้านมได้ ได้แก่

 

1. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยังไม่ได้ทำการรักษามะเร็งเต้านมจนหายขาด
2. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีผิวหนังบริเวณหน้าอกไม่เอื้ออำนวยต่อการผ่าตัดเสริมเต้านม โดยการวินิจฉัยของแพทย์
3. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยังไม่ได้ทำการผ่าตัดเอาเนื้อร้าย (Premalignant) หรือเนื้อเต้านมเดิม ที่อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งออก
4. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ผิวหนังบางมาก เนื่องจากผ่านการฉายรังสีเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณหน้าอกไม่เพียงพอในการผ่าตัด
5. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่แพทย์วินิจฉัยว่า การผ่าตัดอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง
6. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีประวัติแพ้วัสดุ หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
7. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างเต้านมเทียม แม้ว่าแพทย์จะมีความพยายามในการรักษาอยู่หลายครั้งแล้วก็ตาม
8. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่ยินยอมให้มีการผ่าตัดเสริมเต้านมเทียม

 

ทว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจแบบ ‘คิดไปเอง’ ว่าควร หรือไม่ควร ที่จะทำการผ่าตัดเสริมเต้านมทียมนั้น การขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการศัลยกรรมเสริมหน้าอกโดยตรง ยังถือเป็นทางเลือกที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งอยู่นั่นเองค่ะ

วิธีการเลือกขนาดซิลิโคน

ปกติแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่มักรู้จักขนาดเต้านมตนเองเป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากขนาดของบรา (ยกทรง) ที่สวมใส่เป็นประจำเป็นสำคัญ ซึ่งขนาดคัพของเต้านมของผู้หญิงไทยส่วนใหญ่มักจะมีอยู่ 3 ระดับ คือ คัพ A คัพ B และคัพ C การพิจารณาขนาดคัพของเสื้อชั้นใน (ยกทรง) ก็เพื่อพิจารณาเลือกขนาดของถุงเต้านมเทียม โดยขนาดของถุงเต้านมที่ต้องการนำมาใช้ในการเสริมหน้าอก จะมีการกำหนดขนาดหน่วยของน้ำหนักเจลภายในเป็น ‘ซีซี’ (cc.) ซึ่งตามปกติทั่วไปแล้วน้ำหนักของถุงเต้านมเทียมจะเริ่มที่ 150 cc. ไปจนถึง 800 cc. โดยขนาดของถุงเต้านมแต่ละไซส์ จะมีการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้น โดยจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นทีละ 20 – 25 cc. (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิตแต่ละแห่ง)   ทว่า สำหรับถุงเต้านมเทียมที่มีขนาด 500 cc. เมื่อมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีก จะเพิ่มครั้งละ 50 cc. ทีเดียว ฉะนั้นการเลือกถุงเต้านม เพื่อใช้ในการเสริมหน้าอก ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และทางที่ดีควรทำการทดสอบโดยการทำไรซ์เทส หรือใช้การวัดขนาดหน้าอก เปรียบเทียบกับขนาดของถุงเต้านมเทียม ก่อนตัดสินใจเลือกขนาดถุงเต้านมเทียม ที่จะใช้เสริมหน้าอก   โดยทั่วไปจะมีการกะประมาณคร่าวๆ…

ระยะเวลาพักฟื้นหลังศัลยกรรมหน้าอก

คำถามที่พบบ่อยที่สุดก็คือ หลังการผ่าตัดเสริมเต้านมแล้ว คนไข้ควรหยุดงานเพื่อพักฟื้นนานเท่าใด ซึ่งก่อนจะตอบคำถามนี้ ขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดว่า การพักฟื้น หรือการหยุดพักหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอกนั้นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น อายุของคนไข้ เทคนิคการผ่าตัดของศัลยแพทย์ ลักษณะผิวหนังบริเวณหน้าอก เป็นต้น โดยเฉพาะลักษณะผิวหนังบริเวณหน้าอกนี้ ถ้าคนไข้เป็นคนรูปร่างเล็ก ผอมบาง ผิวหนังบริเวณหน้าอกน้อย แผลก็จะตึงมาก ทำให้รู้สึกเจ็บปวดมากด้วยเช่นกัน   โดยปกติแล้ว การลาหยุดงานเพื่อพักฟื้นร่างกายหลังการศัลยกรรมหน้าอก เพียง 1 สัปดาห์ก็ถือว่าเพียงพอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า งานที่คนไข้ต้องกลับไปทำนั้นมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และการอักเสบของบาดแผลมากแค่ไหนด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า หากงานของคนไข้เกี่ยวข้องกับการใช้แรงเคลื่อนไหวมากๆ เช่น ยกของหนัก งานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมือและไหล่ในการทำงานทั้งวัน เช่น การพิมพ์งาน การวาดรูป งานในโรงงานอุตสาหกรรม หรืองานการแสดงต่างๆ ระยะเวลาในการพักฟื้นก็อาจจะนานออกไปกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เป็นต้น อีกทั้งการผ่าตัดเสริมเต้านมในคนไข้ที่มีอายุน้อย (20 ปีขึ้นไป) ก็จะสามารถรักษาแผลให้หายได้เร็วกว่าคนที่มีอายุมาก (35 ปีขึ้นไป) ด้วยเช่นกัน   ดังนั้น การกำหนดช่วงระยะเวลาในการพักพื้นของคนไข้แต่ละคนจึงแตกต่างกัน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้แต่ละท่านเป็นสำคัญ โดยในช่วงระยะเวลาพักฟื้น แพทย์จะแนะนำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายเบาๆ เช่น การเดินช้าๆ การยกแขนขึ้นลงช้าๆ…

แมมโมแกรมการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก มีผลต่อการตรวจแมมโมแกรมหรือไม่?

การทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกมีผลต่อการทำแมมโมแกรม เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมอย่างแน่นอน เพราะผลจากการเสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมเทียม จะทำให้การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมทำได้ยากยิ่งขึ้น ดังนั้นก่อนทำการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง เพื่อที่แพทย์จะได้เลือกใช้วิธีการตรวจที่เหมาะสมต่อไป

 

ทั้งนี้ หากเป็นการผ่าตัดโดยการวางถุงเต้านมเทียมไว้เหนือกล้ามเนื้อ จะทำให้มีเนื้อเต้านมที่เครื่องแมมโมแกรมไม่สามารถมองเห็นได้ถึง 25% ทีเดียว ในขณะที่การผ่าตัดวางถุงเต้านมเทียมไว้ใต้กล้ามเนื้อ จะมีส่วนของเนื้อเต้านมที่เครื่องแมมโมแกรมไม่สามารถมองเห็นได้เพียงแค่ 10% เท่านั้น ดังนั้นในกลุ่มคนไข้ที่มีประวัติครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็ง จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้มาก ดังนั้นจึงควรพิจารณาทบทวนให้ดี ก่อนตัดสินใจทำศัลยกรรมหน้าอก

 

 
นอกจากนี้ เพื่อความปลอดภัยของคนไข้เอง ภายหลังการศัลยกรรมหน้าอกแล้ว ยังจำเป็นต้องทำการตรวจหามะเร็งเต้านมอีกด้วย และการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมนี้เอง ที่อาจจะส่งผลกระทบทำให้ถุงเต้านมเทียมที่ใส่เข้าไปเกิดการปริแตก และรั่วซึมได้ เนื่องจากขณะตรวจหามะเร็งด้วยเครื่องแมมโมแกรม จะมีการกดที่เต้านมอย่างแรง ดังนั้นหากต้องตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม คนไข้ควรแจ้งแก่แพทย์ก่อนทำการตรวจว่า ได้ทำการศัลยกรรมหน้าอกมาก่อน เพื่อที่เจ้าหน้าที่เอ็กซเรย์จะได้ระมัดระวังขณะที่กดเต้านม โดยหลีกเลี่ยงที่จะกดลงในตำแหน่งของถุงเต้านม เพื่อไม่ให้บังภาพของเนื้อเต้านม ในขณะทำการเอ็กซเรย์ด้วยเครื่องแมมโมแกรมนั่นเอง
 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรมไม่สามารถอ่านภาพของเนื้อเต้านมได้ทั้งหมด (เนื่องจากบางส่วนถูกบังด้วยถุงเต้านมเทียม) แพทย์จึงจำเป็นต้องทำการตรวจหามะเร็งเต้านม ด้วยเทคนิคอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป

 

ซิลิโคนทรงกลม&ซิลิโคนทรงหยดน้ำ?

หนึ่งในคำถามที่สาวอยาก(อก)สวยคิดไม่ตก นั่นก็คือ จะเลือกเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนแบบไหนดี ระหว่างซิลิโคนทรงกลม (Round Implant) กับทรงหยดน้ำ (Teardrop Implant) ซึ่งถือเป็นแบบของถุงเต้านมเทียมยอดฮิต สำหรับการนำมาใช้เสริมหน้าอกในปัจจุบัน

 

 

 

 

ทั้งนี้ ตามปกติของหน้าอกหญิงสาวโดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ คือมีด้านล่างใหญ่กว่าด้านบนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ซึ่งการเลือกถุงเต้านมเทียมเพื่อเสริมหน้าอกจะเป็นตัวช่วยกระตุ้น หรือส่งเสริมให้หน้าอกของคุณดูสวยงาม อวบอิ่มยิ่งขึ้นได้ โดยลักษณะของถุงเต้านมเทียมทั้งสองชนิดนี้ จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่ถุงซิลิโคนทรงกลมจะมีความนุ่มนวล ยืดหยุ่นสูง ขอบโค้งมน สวยเข้ารูป ทำให้สัดส่วนแลดูเป็นธรรมชาติทั้งในท่านั่งและท่ายืน ในขณะที่ซิลิโคนทรงหยดน้ำจะมีเนื้อซิลิโคนเหลวภายในค่อนข้างแข็ง คงรูป จึงมักนิยมใช้ในผู้ที่ต้องการเสริมข้อบกพร่องของเต้านมเป็นพิเศษ เช่น ต้องการเน้นให้เห็นเนื้อเต้านมด้านล่างให้มีความอวบอิ่มมากขึ้น หรือเน้นบริเวณเนินอกให้แลดูมีเนื้อมากขึ้น ในกรณีที่มีเนื้อเนินอกน้อย เป็นต้น

 

 

 
หากแต่ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ถุงเต้านมเทียมแบบไหน ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะสามารถทำการผ่าตัดหน้าอกของคุณให้แลดูงดงามเป็นธรรมชาติได้ทั้งสิ้น โดยเบื้องต้นแพทย์จะให้คำปรึกษา แนะนำวิธีการเลือกขนาด ชนิด และประเภทถุงเต้านมเทียม เลือกรูปแบบแผลผ่าตัด และการวางถุงซิลิโคนในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้เหมาะสม และถูกต้องยิ่งขึ้น นั่นเอง

รวมกิจกรรมออกกำลังรีแลกซ์ร่างกายง่ายๆ หลังศัลยกรรมหน้าอก

สำหรับสาวๆ คนไหนที่หลงใหลการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อต้องการให้หุ่นฟิตเฟิร์มกระชับอยู่เสมอ แต่ก็อยากจะศัลยกรรมหน้าอกเพื่อเสริมเสน่ห์ความเป็นหญิงให้ยิ่งมีออร่ายิ่งขึ้นด้วยล่ะก็ นี่แหล่ะจึงเกิดเป็นคำถามยอดฮิตที่ว่า ‘หลังเสริมหน้าอกแล้วออกกำลังกายได้ไหม?’ ต้องบอกว่าได้แต่มีเงื่อนไขในการออกกำลังหลังการทำศัลยกรรมหน้าอกอยู่บ้าง เพราะการเสริมหน้าอกถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องอาศัยเวลาในการพักฟื้น หากอยากรู้ว่ามีอะไรมาตามมาดูกันเลย…