ฝนตก น้ำท่วม ต้องระวังอะไรแค่ไหนกัน

ฝนตก น้ำท่วม ต้องระวังอะไรแค่ไหนกัน?

ฝนตก น้ำท่วม ต้องระวังอะไรแค่ไหนกัน?

ฝนตกหนักทีไรน้ำท่วมทุกที ใครที่ต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมบ่อยๆ รู้ไว้เลยว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อโรคร้ายหลายโรคเลยทีเดียวฝนใจร้ายชอบตกตอนเลิกงาน หรือเดินทางกลับบ้าน กลับบ้านแทบไม่ได้ เนื่องจากฝนที่ตกหนักจนน้ำท่วมทางสัญจร หรือต้องเดินลุยน้ำฝ่าน้ำท่วมขังไป และการที่ผิวของเราสัมผัสกับสิ่งสกปรกในน้ำขังนั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่มากับน้ำท่วมได้ และเพื่อจะให้ทุกคนได้รับรู้และเริ่มระวังตัวกันให้มากขึ้น แอดมินจะพาทุกคนไปดูกันว่า โรคที่มากับน้ำท่วม ว่ามีโรคใดบ้าง จะได้ระวังกันในช่วงฤดูฝนนี้ค่ะ

ความเครียด

ความเครียดภัยร้าย ไม่รู้ตัว

ความเครียด ภัยร้าย ไม่รู้ตัว ความเครียด  เป็นการปฏิกิริยาของร่างกายต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือคุกคามต่อร่างกาย การเปลี่ยนแปลงในชีวิตไม่ว่าจะด้านดีหรือร้ายอาจก่อให้เกิดความเครียดได้ เมื่อเผชิญหน้ากับภัยคุกคามหรือความลำบาก ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะ “สู้” หรือ “หนี” บางคนเมื่อมีความกังวลก็จะเกิดความเครียดทางอารมณ์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชีวิตได้ ปัจจัยของความเครียดอาจเกิดจากหนึ่งหรือหลายสาเหตุเช่น การเจ็บป่วย โรคภูมิแพ้ สภาพแวดล้อม ฮอร์โมน เช่น ความเครียดหลังคลอด ความเครียดในวัยหมดประจำเดือน ความเครียดอาจจะทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ เช่น อ่อนเพลีย อาการปวด ร้องไห้เป็นพัก ๆ ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ แผลในการเพาะอาหาร ตะคริวท้องเสีย ลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติ โรคหลอดเลือดสมอง ผื่นคันที่ผิวหนัง รังแค ภูมิต้านทานเชื้อโรคลดลง คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดี รับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ยอมรับและอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของแต่ละคนและตั้งเป้าหมายที่มีโอกาสบรรลุได้ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวด้วยความรัก การดูแล ความห่วงใย ความรับผิดชอบระหว่างพ่อแม่และลูก การนับถือซึ่งกันและกัน การรักษาคำมั่นสัญญาและการสื่อสาร…

ไม่อยากเป็นโรคกระดูกพรุน ทำไงดี

โรคกระดูกพรุนป้องกันได้นะคะ ปฏิบัติตัวดังนี้

เสริมสร้างมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่น
รักษามวลกระดูกอย่าให้ลดลงมากเกินไป
ออกกำลังกายแบบต้านแรงโน้มถ่วงโลกสม่ำเสมอ
กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง วิตามินดีสูง
กินโปรตีนให้เพียงพอ
หยุดดื่มน้ำอัดลมและกาแฟ ดื่มนมแทนดีกว่า
สูดอากาศบริสุทธิ์
ลดความเครียดลง
เลิกสูบบุหรี่
เลิกดื่มแอลกอฮอล์

 

กระดูกพรุน

ข้อแนะนำสตรี ให้ห่างไกลกระดูกพรุน

ต่อเมื่อเวลาผ่านไปโรคกระดูกพรุนอาจเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะในสตรีที่หมดประจำเดือนไปแล้ว นานเข้าโรคกระดูกพรุนอาจมาเยือนคุณได้  แต่ก็มีวิธีป้องกันดังนี้

6 วิธีรับมืออาการปวด

ทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราสามารถสร้างบาดแผลหรืออาการเจ็บปวดได้ทุกเมื่อ แต่จะมีวิธีจัดการกับความเจ็บปวดเหล่านั้นอย่างไรให้ถูกวิธีนั้นสิ่งสำคัญค่ะ

ช่วงหน้าฝนอันตราย โรคไข้เลือดออก

เข้าสู่ช่วงหน้าฝน แน่นนอนว่าลำบากในการสัญจรแล้วยังมีเรื่องสุขภาพที่ต้องระวังไมใช่แค่โควิคแต่เป็นโรคไข้เลือดออก ทราบกันหรือไม่ค่ะ จากสถิติสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-5 พ.ค. 63 มีรายงานผู้ป่วยแล้ว 10,938 คน เสียชีวิต 9 คน กล่าวโดย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงว่าผู้ติดเชื่อโควิคเกือบ 3 เท่า เป็นที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังกันให้ดี โดยแข็งแรงแนะนำแนวทางการป้องกันโรคไข้เลือดออกมาฝากด้วยค่ะ

ดูแลเด็กที่เป็นโรคหวัดอย่างไร

การดูแลเด็กเมื่อเป็นไข้หวัดต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเนื่องจากร่างกายของเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำยังไม่มีภูมิต้านทานที่แข็งแรงเท่ากับวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการดูแลเด็กเมื่อตอนป่วยเฝ้าระวังดูอาการอยู่ตลอดเวลาแทบจะไม่ให้คลาดสายตา และยิ่งคุณแม่มือใหม่จะกังวลทำอะไรไม่ถูกแทบจะไม่รู้เลยว่าอาการของเด็กจะต้องดูแลอย่างไรให้ถูกต้อง และอาการแบบไหนควรพาไปพบแพทย์ทันทีมีคำตอบมาให้ค่ะ

เด็กเป็นหวัด

โรคหวัดในเด็ก (Common cold in children)

โรคหวัดในเด็กเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุดสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น Rhinovirus  , Influenza virus มักมีอาการไม่รุนแรงทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของเชื้อไวรัส  โรคนี้มักพบบ่อยในฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำโดยเด็กมีโอกาสเป็นหวัดปีละประมาณ 6 – 8 ครั้งและจะพบน้อยลงเมื่อโตขึ้นส่วนผู้ใหญ่พบได้ปีละประมาณ 2 – 3 ครั้ง โดยชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคได้พอๆกันนะคะ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมีดังนี้ สภาพอากาศ หากอากาศเย็นและความ ชื้นสัมพัทธ์ต่ำจะมีโอกาสเกิดโรคสูง การอยู่ในที่ชุมชนที่มีผู้ป่วยติดเชื้อโรคหวัด ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคหวัดเช่น อยู่ในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็ก ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง อาการของโรคเป็นอย่างไร ในเด็กทารกและในเด็กเล็ก: ระยะแรกมักจะมีอาการไข้ โดยตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ต่อมาก็จะเริ่มมีน้ำมูกไหล ไอ จาม ร้องกวน และน้ำมูกจะทำให้เกิดการหายใจลำบาก อาจมีอาการอาเจียน และท้องร่วงร่วมด้วยในเด็กบางคน เด็กโตจะเริ่มด้วยอาการจาม คอแห้ง ปากแห้ง บางคนมีอาการหนาวๆร้อนๆและปวดเมื่อยตามตัว ตามมาด้วยน้ำมูกไหลซึ่งในระยะแรกจะเป็นน้ำมูกใสๆ ต่อมาจะปนสีเหลืองหรือเขียวหรือเป็นหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนนั่นเอง อาการต่างๆเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2 ถึง 7 วัน ถ้ามีอาการนานกว่านี้ให้สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน หรือมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหวัด โดยทั่วไปโรคหวัดในเด็กถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ มักจะหายเอง ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ถ้ามีอาการหวัดนานเกิน 7 วันแล้วไม่หาย…

การดูแลสุขภาพไต

วันนี้ทาง แข็งแรง.com มีเคล็ดลับดีๆในการดูแลสุขภาพไตมาฝากครับ โดยเราสามารถเริ่มต้นดูแลไตได้ตั้งแต่วันนี้เพื่อสุขภาพไตที่ดีในอนาคต