เด็กโตช้า เด็กตัวเตี้ย

เด็กโตช้า ตัวเตี้ยทำอย่างไรดี?

เด็กโตช้า ตัวเตี้ย ทำอย่างไรดี?   วัยเด็ก เป็นช่วงชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมทั้งมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ เด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าอาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของโรคบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่และควรได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแต่เนิ่น ๆ เราจะทราบได้ว่าเด็กเจริญเติบโตได้เหมาะสมหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต (growth chart) ดังรูป ถ้าเด็กมีการเจริญเติบโตเบี่ยงไปจากเส้นกราฟปกติ ควรนำเด็กมาปรึกษาแพทย์นะคะ     ปัจจัยที่มีผลกับการเจริญเติบโตของเด็ก มีหลายปัจจัย ได้แก่ กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด โภชนาการที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป การนอนหลับที่เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 ชม การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ความเจ็บป่วย โรคเรื้อรังที่ซ่อนเร้นอยู่ที่ทำให้เด็กเติบโตช้าได้ ยาบางกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาสเตียรอยด์ ซึ่งถ้าได้รับปริมาณมากจะมีผลต่อการเจริญเติบโต ฮอร์โมน มีฮอร์โมนหลายอย่าง ซึ่งหากมีปริมาณน้อยจะมีผลทำให้เด็กไม่เติบโตได้ ทราบได้อย่างไรว่าลูกเติบโตช้า มีวิธีการสังเกตง่าย ๆ ดังนี้ ตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกันเมื่ออายุเท่า ๆ กัน ตัวเล็กกว่าเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงโดยเปรียบเทียบในกราฟการเจริญเติบโตหรือไม่เติบโตเลย ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต ตามเพศและอายุของเด็ก กินอาหารอย่างไรที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมได้สัดส่วนจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม มีสุขภาพดีและไม่อ้วน ลักษณะอาหารที่ควรกินคือ…

ประกันสุขภาพเด็ก

ประกันสุขภาพเด็ก สุดคุ้ม 2021

ประกันสุขภาพเด็ก สุดคุ้ม 2021
ประกันสุขภาพเด็ก สุดคุ้ม 2020 อาการเจ็บป่วยในเด็กเป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องพบเจอ เพราะร่างกายของเด็กๆ ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่ จึงมีโอการสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายในทุกช่วงของฤดูกาล ยิ่งในปัจจุบันมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นมากมาย เด็กๆ จึงเป็นเป้าหมายที่จะเสี่ยงกับอาการเจ็บป่วยจากเชื้อพวกนี้ได้ง่าย

ดูแลเด็กที่เป็นโรคหวัดอย่างไร

การดูแลเด็กเมื่อเป็นไข้หวัดต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเนื่องจากร่างกายของเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำยังไม่มีภูมิต้านทานที่แข็งแรงเท่ากับวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการดูแลเด็กเมื่อตอนป่วยเฝ้าระวังดูอาการอยู่ตลอดเวลาแทบจะไม่ให้คลาดสายตา และยิ่งคุณแม่มือใหม่จะกังวลทำอะไรไม่ถูกแทบจะไม่รู้เลยว่าอาการของเด็กจะต้องดูแลอย่างไรให้ถูกต้อง และอาการแบบไหนควรพาไปพบแพทย์ทันทีมีคำตอบมาให้ค่ะ

เด็กเป็นหวัด

โรคหวัดในเด็ก (Common cold in children)

โรคหวัดในเด็กเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุดสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น Rhinovirus  , Influenza virus มักมีอาการไม่รุนแรงทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของเชื้อไวรัส  โรคนี้มักพบบ่อยในฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำโดยเด็กมีโอกาสเป็นหวัดปีละประมาณ 6 – 8 ครั้งและจะพบน้อยลงเมื่อโตขึ้นส่วนผู้ใหญ่พบได้ปีละประมาณ 2 – 3 ครั้ง โดยชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคได้พอๆกันนะคะ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมีดังนี้ สภาพอากาศ หากอากาศเย็นและความ ชื้นสัมพัทธ์ต่ำจะมีโอกาสเกิดโรคสูง การอยู่ในที่ชุมชนที่มีผู้ป่วยติดเชื้อโรคหวัด ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคหวัดเช่น อยู่ในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็ก ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง อาการของโรคเป็นอย่างไร ในเด็กทารกและในเด็กเล็ก: ระยะแรกมักจะมีอาการไข้ โดยตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ต่อมาก็จะเริ่มมีน้ำมูกไหล ไอ จาม ร้องกวน และน้ำมูกจะทำให้เกิดการหายใจลำบาก อาจมีอาการอาเจียน และท้องร่วงร่วมด้วยในเด็กบางคน เด็กโตจะเริ่มด้วยอาการจาม คอแห้ง ปากแห้ง บางคนมีอาการหนาวๆร้อนๆและปวดเมื่อยตามตัว ตามมาด้วยน้ำมูกไหลซึ่งในระยะแรกจะเป็นน้ำมูกใสๆ ต่อมาจะปนสีเหลืองหรือเขียวหรือเป็นหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนนั่นเอง อาการต่างๆเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2 ถึง 7 วัน ถ้ามีอาการนานกว่านี้ให้สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน หรือมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหวัด โดยทั่วไปโรคหวัดในเด็กถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ มักจะหายเอง ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ถ้ามีอาการหวัดนานเกิน 7 วันแล้วไม่หาย…

ปรับพฤติกรรมการทานเพื่อลดอาการท้องผูกในลูกน้อย

อาการท้องผูกในเด็ก ถือว่าเป็นปัญหาที่พบได้มาก แต่ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง เพราะถือเป็นเพียงอาการหนึ่งซึ่งเกิดจากพฤติกรรม โดยพบว่าร้อยละ 95% ของอาการท้องผูกในเด็กนั้น มักเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร