5 คำตอบที่ต้องทราบก่อนศัลยกรรมหน้าอก

แม้ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการศัลยกรรมเสริมความงามจะมีอยู่อย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างสูง จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับสังคมไทยไปแล้ว แต่ถึงกระนั้น การทำศัลยกรรม (ไม่ว่าอวัยวะส่วนใดๆ ในร่างกายก็ตาม) คนไข้ควรปรึกษาแพทย์อย่างละเอียด และถามทุกคำถามที่ตนเองสงสัย และตอบทุกคำตอบเกี่ยวกับสุขภาพที่แพทย์ต้องการทราบอย่างไม่ปิดบังด้วยเช่นกัน ซึ่งในจำนวนคำถามที่คนไข้ควรถามขณะทำการปรึกษาแพทย์ ได้แก่ 1. ความเสี่ยง และปัญหาแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด รวมทั้งแนวทางการป้องกัน และแก้ไข 2. ตำแหน่งในการวางถุงเต้านมเทียม บาดแผล และผลกระทบของการเลือกแผลผ่าตัดแต่ละแบบ 3. การเลือกแบบ ลักษณะ และขนาดของถุงเต้านมเทียม ที่เหมาะสมกับตนเอง 4. การปฏิบัติตัวทั้งก่อน และหลังการผ่าตัด 5. ระยะเวลาในการพักฟื้น การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การให้นมบุตร การตั้งครรภ์ การออกกำลังกาย ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก และหากการผ่าตัดเสริมหน้าอกไม่สัมฤทธิ์ผลตามต้องการ เช่น ขนาดไม่พอดี อยากแก้ไขรูปทรงหน้าอกใหม่ หรืออื่นๆ จะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร เป็นต้น เพราะคำถามต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้คนไข้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกมากขึ้น ช่วยในเรื่องของการเตรียมตัว เตรียมใจ ทั้งยังช่วยลดความวิตกกังวล ความตึงเครียด และความหวาดกลัวจากการผ่าตัดได้ในระดับหนึ่ง…

เป็นมะเร็งเต้านม จะผ่าตัดเสริมหน้าอกได้หรือไม่?

ปัจจุบันการเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนการผ่าตัดเสริมสร้างหน้าอกใหม่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมนั้นได้มีมานานแล้ว และมีวิวัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าไปกว่าในอดีตมาก ซึ่งการผ่าตัดเสริมหน้าอกนี้จะขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา และวินิจฉัยของแพทย์แต่ละรายไป โดยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะเป็นผู้ให้คำปรึกษากับผู้ป่วยอย่างละเอียด ซึ่งหากท่านต้องการผ่าตัดเสริมเต้านม หลังจากที่ทำการรักษามะเร็งจนหายขาดดีแล้ว ก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกคน จะทำการผ่าตัดเสริมหน้าอกได้ด้วยเช่นกัน!

 

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดเสริมเต้านมได้ ได้แก่

 

1. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยังไม่ได้ทำการรักษามะเร็งเต้านมจนหายขาด
2. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีผิวหนังบริเวณหน้าอกไม่เอื้ออำนวยต่อการผ่าตัดเสริมเต้านม โดยการวินิจฉัยของแพทย์
3. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยังไม่ได้ทำการผ่าตัดเอาเนื้อร้าย (Premalignant) หรือเนื้อเต้านมเดิม ที่อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งออก
4. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ผิวหนังบางมาก เนื่องจากผ่านการฉายรังสีเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณหน้าอกไม่เพียงพอในการผ่าตัด
5. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่แพทย์วินิจฉัยว่า การผ่าตัดอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง
6. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีประวัติแพ้วัสดุ หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
7. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างเต้านมเทียม แม้ว่าแพทย์จะมีความพยายามในการรักษาอยู่หลายครั้งแล้วก็ตาม
8. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่ยินยอมให้มีการผ่าตัดเสริมเต้านมเทียม

 

ทว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจแบบ ‘คิดไปเอง’ ว่าควร หรือไม่ควร ที่จะทำการผ่าตัดเสริมเต้านมทียมนั้น การขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการศัลยกรรมเสริมหน้าอกโดยตรง ยังถือเป็นทางเลือกที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งอยู่นั่นเองค่ะ

วิธีการเลือกขนาดซิลิโคน

ปกติแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่มักรู้จักขนาดเต้านมตนเองเป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากขนาดของบรา (ยกทรง) ที่สวมใส่เป็นประจำเป็นสำคัญ ซึ่งขนาดคัพของเต้านมของผู้หญิงไทยส่วนใหญ่มักจะมีอยู่ 3 ระดับ คือ คัพ A คัพ B และคัพ C การพิจารณาขนาดคัพของเสื้อชั้นใน (ยกทรง) ก็เพื่อพิจารณาเลือกขนาดของถุงเต้านมเทียม โดยขนาดของถุงเต้านมที่ต้องการนำมาใช้ในการเสริมหน้าอก จะมีการกำหนดขนาดหน่วยของน้ำหนักเจลภายในเป็น ‘ซีซี’ (cc.) ซึ่งตามปกติทั่วไปแล้วน้ำหนักของถุงเต้านมเทียมจะเริ่มที่ 150 cc. ไปจนถึง 800 cc. โดยขนาดของถุงเต้านมแต่ละไซส์ จะมีการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้น โดยจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นทีละ 20 – 25 cc. (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิตแต่ละแห่ง)   ทว่า สำหรับถุงเต้านมเทียมที่มีขนาด 500 cc. เมื่อมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีก จะเพิ่มครั้งละ 50 cc. ทีเดียว ฉะนั้นการเลือกถุงเต้านม เพื่อใช้ในการเสริมหน้าอก ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และทางที่ดีควรทำการทดสอบโดยการทำไรซ์เทส หรือใช้การวัดขนาดหน้าอก เปรียบเทียบกับขนาดของถุงเต้านมเทียม ก่อนตัดสินใจเลือกขนาดถุงเต้านมเทียม ที่จะใช้เสริมหน้าอก   โดยทั่วไปจะมีการกะประมาณคร่าวๆ…

ระยะเวลาพักฟื้นหลังศัลยกรรมหน้าอก

คำถามที่พบบ่อยที่สุดก็คือ หลังการผ่าตัดเสริมเต้านมแล้ว คนไข้ควรหยุดงานเพื่อพักฟื้นนานเท่าใด ซึ่งก่อนจะตอบคำถามนี้ ขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดว่า การพักฟื้น หรือการหยุดพักหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอกนั้นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น อายุของคนไข้ เทคนิคการผ่าตัดของศัลยแพทย์ ลักษณะผิวหนังบริเวณหน้าอก เป็นต้น โดยเฉพาะลักษณะผิวหนังบริเวณหน้าอกนี้ ถ้าคนไข้เป็นคนรูปร่างเล็ก ผอมบาง ผิวหนังบริเวณหน้าอกน้อย แผลก็จะตึงมาก ทำให้รู้สึกเจ็บปวดมากด้วยเช่นกัน   โดยปกติแล้ว การลาหยุดงานเพื่อพักฟื้นร่างกายหลังการศัลยกรรมหน้าอก เพียง 1 สัปดาห์ก็ถือว่าเพียงพอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า งานที่คนไข้ต้องกลับไปทำนั้นมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และการอักเสบของบาดแผลมากแค่ไหนด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า หากงานของคนไข้เกี่ยวข้องกับการใช้แรงเคลื่อนไหวมากๆ เช่น ยกของหนัก งานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมือและไหล่ในการทำงานทั้งวัน เช่น การพิมพ์งาน การวาดรูป งานในโรงงานอุตสาหกรรม หรืองานการแสดงต่างๆ ระยะเวลาในการพักฟื้นก็อาจจะนานออกไปกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เป็นต้น อีกทั้งการผ่าตัดเสริมเต้านมในคนไข้ที่มีอายุน้อย (20 ปีขึ้นไป) ก็จะสามารถรักษาแผลให้หายได้เร็วกว่าคนที่มีอายุมาก (35 ปีขึ้นไป) ด้วยเช่นกัน   ดังนั้น การกำหนดช่วงระยะเวลาในการพักพื้นของคนไข้แต่ละคนจึงแตกต่างกัน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้แต่ละท่านเป็นสำคัญ โดยในช่วงระยะเวลาพักฟื้น แพทย์จะแนะนำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายเบาๆ เช่น การเดินช้าๆ การยกแขนขึ้นลงช้าๆ…

11 ลักษณะบุคคลที่ไม่สามารถทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกได้

บุคคลที่ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์(EQ) ไม่สามารถยอมรับ และรับรู้ด้วยความเข้าใจว่า ลักษณะของหน้าอก หลังจากทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือมีความกังวลมากผิดปกติ หรือมีคาดหวังผลการผ่าตัดสูงเกินกว่าที่แพทย์จะทำได้ บุคคลผู้มีภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ และจิตใจ เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า บุคคลที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถทำการผ่าตัดได้ บุคคลผู้มีโรคทางศัลยกรรม หรืออายุรกรรมที่ยาควบคุมไม่ได้ ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเรื้อรัง มีโรคประจำตัวที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงหากทำการผ่าตัด เช่น โรคหัวใจ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับปอด โรคภูมิต้านทานบกพร่อง (HIV) ที่ยังมีอาการ และมีค่า CD4* ต่ำกว่าปกติ โรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานตนเอง (Lupus) เช่น SLE* โรคมะเร็งเต้านม ที่ยังไม่ทราบระยะที่แน่นอน หรืออยู่ในระหว่างรับยาเคมีบำบัด เป็นต้น บุคคลผู้มีผิวหนังที่ไม่ยืดหยุ่นเพียงพอ ที่จะเสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมเทียมได้ เช่น เคยได้รับการฉายรังสีในปริมาณที่สูงมาก่อน เป็นต้น บุคคลที่เป็นโรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของผิวหนัง (Scleroderma) เช่น โรค PSS* (Progressive systemic sclerosis) บุคคลผู้มีภาวะร่างกายเกิดการติดเชื้อ หรือเป็นฝี หนองที่ใดที่หนึ่งในร่างกาย บุคคลผู้อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร มีประวัติการแพ้สารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย บุคคลผู้มีผิวปกคลุม…

แมมโมแกรมการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก มีผลต่อการตรวจแมมโมแกรมหรือไม่?

การทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกมีผลต่อการทำแมมโมแกรม เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมอย่างแน่นอน เพราะผลจากการเสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมเทียม จะทำให้การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมทำได้ยากยิ่งขึ้น ดังนั้นก่อนทำการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง เพื่อที่แพทย์จะได้เลือกใช้วิธีการตรวจที่เหมาะสมต่อไป

 

ทั้งนี้ หากเป็นการผ่าตัดโดยการวางถุงเต้านมเทียมไว้เหนือกล้ามเนื้อ จะทำให้มีเนื้อเต้านมที่เครื่องแมมโมแกรมไม่สามารถมองเห็นได้ถึง 25% ทีเดียว ในขณะที่การผ่าตัดวางถุงเต้านมเทียมไว้ใต้กล้ามเนื้อ จะมีส่วนของเนื้อเต้านมที่เครื่องแมมโมแกรมไม่สามารถมองเห็นได้เพียงแค่ 10% เท่านั้น ดังนั้นในกลุ่มคนไข้ที่มีประวัติครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็ง จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้มาก ดังนั้นจึงควรพิจารณาทบทวนให้ดี ก่อนตัดสินใจทำศัลยกรรมหน้าอก

 

 
นอกจากนี้ เพื่อความปลอดภัยของคนไข้เอง ภายหลังการศัลยกรรมหน้าอกแล้ว ยังจำเป็นต้องทำการตรวจหามะเร็งเต้านมอีกด้วย และการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมนี้เอง ที่อาจจะส่งผลกระทบทำให้ถุงเต้านมเทียมที่ใส่เข้าไปเกิดการปริแตก และรั่วซึมได้ เนื่องจากขณะตรวจหามะเร็งด้วยเครื่องแมมโมแกรม จะมีการกดที่เต้านมอย่างแรง ดังนั้นหากต้องตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม คนไข้ควรแจ้งแก่แพทย์ก่อนทำการตรวจว่า ได้ทำการศัลยกรรมหน้าอกมาก่อน เพื่อที่เจ้าหน้าที่เอ็กซเรย์จะได้ระมัดระวังขณะที่กดเต้านม โดยหลีกเลี่ยงที่จะกดลงในตำแหน่งของถุงเต้านม เพื่อไม่ให้บังภาพของเนื้อเต้านม ในขณะทำการเอ็กซเรย์ด้วยเครื่องแมมโมแกรมนั่นเอง
 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรมไม่สามารถอ่านภาพของเนื้อเต้านมได้ทั้งหมด (เนื่องจากบางส่วนถูกบังด้วยถุงเต้านมเทียม) แพทย์จึงจำเป็นต้องทำการตรวจหามะเร็งเต้านม ด้วยเทคนิคอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป

 

ซิลิโคนทรงกลม&ซิลิโคนทรงหยดน้ำ?

หนึ่งในคำถามที่สาวอยาก(อก)สวยคิดไม่ตก นั่นก็คือ จะเลือกเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนแบบไหนดี ระหว่างซิลิโคนทรงกลม (Round Implant) กับทรงหยดน้ำ (Teardrop Implant) ซึ่งถือเป็นแบบของถุงเต้านมเทียมยอดฮิต สำหรับการนำมาใช้เสริมหน้าอกในปัจจุบัน

 

 

 

 

ทั้งนี้ ตามปกติของหน้าอกหญิงสาวโดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ คือมีด้านล่างใหญ่กว่าด้านบนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ซึ่งการเลือกถุงเต้านมเทียมเพื่อเสริมหน้าอกจะเป็นตัวช่วยกระตุ้น หรือส่งเสริมให้หน้าอกของคุณดูสวยงาม อวบอิ่มยิ่งขึ้นได้ โดยลักษณะของถุงเต้านมเทียมทั้งสองชนิดนี้ จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่ถุงซิลิโคนทรงกลมจะมีความนุ่มนวล ยืดหยุ่นสูง ขอบโค้งมน สวยเข้ารูป ทำให้สัดส่วนแลดูเป็นธรรมชาติทั้งในท่านั่งและท่ายืน ในขณะที่ซิลิโคนทรงหยดน้ำจะมีเนื้อซิลิโคนเหลวภายในค่อนข้างแข็ง คงรูป จึงมักนิยมใช้ในผู้ที่ต้องการเสริมข้อบกพร่องของเต้านมเป็นพิเศษ เช่น ต้องการเน้นให้เห็นเนื้อเต้านมด้านล่างให้มีความอวบอิ่มมากขึ้น หรือเน้นบริเวณเนินอกให้แลดูมีเนื้อมากขึ้น ในกรณีที่มีเนื้อเนินอกน้อย เป็นต้น

 

 

 
หากแต่ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ถุงเต้านมเทียมแบบไหน ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะสามารถทำการผ่าตัดหน้าอกของคุณให้แลดูงดงามเป็นธรรมชาติได้ทั้งสิ้น โดยเบื้องต้นแพทย์จะให้คำปรึกษา แนะนำวิธีการเลือกขนาด ชนิด และประเภทถุงเต้านมเทียม เลือกรูปแบบแผลผ่าตัด และการวางถุงซิลิโคนในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้เหมาะสม และถูกต้องยิ่งขึ้น นั่นเอง