กระดูกพรุนกับการรักษาในปัจจุบัน

  โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทีกระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก ข้อเข่า หรือข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้โรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในผู้สูงอายุ   ก่อนอื่น เราคงต้องมาเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายกันก่อน โครงร่างของร่างกายประกอบด้วยกระดูก ข้อต่อ และกระดูกอ่อน ซึงทำหน้าที่เป็นโครงสร้างค้ำจุนทั้งร่างกาย กระดูกจะเกิดการสึกกร่อนอย่างต่อเนื่องในทุกการเคลื่อนไหว ลักษณะเฉพาะที่สำคัญต่อการทำหน้าที่อย่างปกติของกระดูกและมีผลอย่างมากต่อปริมาณแคลเซียมในร่างกาย คือ ความเข้มแข็งและความหนาแน่นของกระดูก กระดูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและอาจต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นกระดูกจะเริ่มเสื่อมลง ส่งผลให้กระดูกบางลง อ่อนแอ และเปราะ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคกระดูกพรุน   ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ เพศ อายุ เชื้อชาติ พันธุกรรม และประวัติครอบครัว รวมทั้งวิถีชีวิตและอาหารที่รับประทาน โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชายด้วยสาเหตุหลัก คือ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนเมื่อถึงวัยประจำเดือน โดยทั่วไป จะมีการวัดค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density : BMD)  เพื่อประเมินโรคกระดูกพรุน คำแนะนำผู้ป่วย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกกล้ามเนื้อ รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และเป็นคนกระฉับกระเฉง…