เด็กโตช้า เด็กตัวเตี้ย

เด็กโตช้า ตัวเตี้ยทำอย่างไรดี?

เด็กโตช้า ตัวเตี้ย ทำอย่างไรดี?   วัยเด็ก เป็นช่วงชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมทั้งมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ เด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าอาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของโรคบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่และควรได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแต่เนิ่น ๆ เราจะทราบได้ว่าเด็กเจริญเติบโตได้เหมาะสมหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต (growth chart) ดังรูป ถ้าเด็กมีการเจริญเติบโตเบี่ยงไปจากเส้นกราฟปกติ ควรนำเด็กมาปรึกษาแพทย์นะคะ     ปัจจัยที่มีผลกับการเจริญเติบโตของเด็ก มีหลายปัจจัย ได้แก่ กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด โภชนาการที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป การนอนหลับที่เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 ชม การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ความเจ็บป่วย โรคเรื้อรังที่ซ่อนเร้นอยู่ที่ทำให้เด็กเติบโตช้าได้ ยาบางกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาสเตียรอยด์ ซึ่งถ้าได้รับปริมาณมากจะมีผลต่อการเจริญเติบโต ฮอร์โมน มีฮอร์โมนหลายอย่าง ซึ่งหากมีปริมาณน้อยจะมีผลทำให้เด็กไม่เติบโตได้ ทราบได้อย่างไรว่าลูกเติบโตช้า มีวิธีการสังเกตง่าย ๆ ดังนี้ ตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกันเมื่ออายุเท่า ๆ กัน ตัวเล็กกว่าเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงโดยเปรียบเทียบในกราฟการเจริญเติบโตหรือไม่เติบโตเลย ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต ตามเพศและอายุของเด็ก กินอาหารอย่างไรที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมได้สัดส่วนจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม มีสุขภาพดีและไม่อ้วน ลักษณะอาหารที่ควรกินคือ…

โรคRSV

รู้จักโรคติดเชื้อ RSV

โรคติดเชื้อ RSV ให้ห่างไกลลูกคุณได้อย่างไร   ในช่วงฤดูฝนเด็กๆ มักมีภาวะเจ็บป่วยของระบบทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก คอหอย) และส่วนล่าง (หลอดลม ปอด) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ (influenza) พาราอินฟูเอนซ่า (parainfluenza) อะดีโนไวรัส (adenovirus) ไรห์โนไวรัส (rhinoviruses) และที่สำคัญคือ RSV (respiratory syncytial virus) มาทำความเข้าใจ RSV กันดีกว่า   RSV คืออะไร? RSV คือไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม ชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus มีสองสายพันธุ์ คือ RSV-A และ RSV-B เป็นไวรัสก่อการติดเชื้อทางเดินหายใจของเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และมีการระบาดเกือบทุกปี   หลังรับเชื้อนานเท่าไรจึงมีอาการป่วย (ระยะฟักตัว) ? พบว่าหลังรับเชื้อ RSV สามารถแสดงอาการได้เร็วที่สุดหลังติดเชื้อ…

ขนาดการให้ยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ก

การคำนวณขนาดยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ก   การคำนวณขนาดยาพาราเซตามอล ที่จะให้ในเด็กนั้น ต้องคำนวณให้ถูกต้องแม่นยำ โดยปริมาณยาที่เด็กควรได้รับคือ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อครั้ง ทั้งนี้เราต้องรู้น้ำหนักตัวของเด็ก และความเข้มข้นของยาที่จะให้ โดยยาพาราเซตามอล สำหรับเด็กนั้นมีหลายขนาด ดังนี้คือ   1.  ขนาด 60 มิลลิกรัมต่อ 0.6 มิลลิลิตร และขนาด 80 มิลลิกรัมต่อ 0.8 มิลลิลิตร มีลักษณะเป็นหยดใช้สำหรับเด็กทารกอายุไม่เกิน 1 ปี 2.  ขนาด 120 mg ต่อ 5 ml  , 160 มิลลิกรัมต่อ 5 ml และ 250 มิลลิกรัมต่อ 5 ml เป็นชนิดน้ำเชื่อม รับประทานด้วยช้อนเหมาะสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป 3.  ยาเม็ด ขนาดเม็ดละ 325…

ดูแลเด็กที่เป็นโรคหวัดอย่างไร

การดูแลเด็กเมื่อเป็นไข้หวัดต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเนื่องจากร่างกายของเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำยังไม่มีภูมิต้านทานที่แข็งแรงเท่ากับวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการดูแลเด็กเมื่อตอนป่วยเฝ้าระวังดูอาการอยู่ตลอดเวลาแทบจะไม่ให้คลาดสายตา และยิ่งคุณแม่มือใหม่จะกังวลทำอะไรไม่ถูกแทบจะไม่รู้เลยว่าอาการของเด็กจะต้องดูแลอย่างไรให้ถูกต้อง และอาการแบบไหนควรพาไปพบแพทย์ทันทีมีคำตอบมาให้ค่ะ

เด็กเป็นหวัด

โรคหวัดในเด็ก (Common cold in children)

โรคหวัดในเด็กเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุดสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น Rhinovirus  , Influenza virus มักมีอาการไม่รุนแรงทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของเชื้อไวรัส  โรคนี้มักพบบ่อยในฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำโดยเด็กมีโอกาสเป็นหวัดปีละประมาณ 6 – 8 ครั้งและจะพบน้อยลงเมื่อโตขึ้นส่วนผู้ใหญ่พบได้ปีละประมาณ 2 – 3 ครั้ง โดยชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคได้พอๆกันนะคะ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมีดังนี้ สภาพอากาศ หากอากาศเย็นและความ ชื้นสัมพัทธ์ต่ำจะมีโอกาสเกิดโรคสูง การอยู่ในที่ชุมชนที่มีผู้ป่วยติดเชื้อโรคหวัด ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคหวัดเช่น อยู่ในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็ก ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง อาการของโรคเป็นอย่างไร ในเด็กทารกและในเด็กเล็ก: ระยะแรกมักจะมีอาการไข้ โดยตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ต่อมาก็จะเริ่มมีน้ำมูกไหล ไอ จาม ร้องกวน และน้ำมูกจะทำให้เกิดการหายใจลำบาก อาจมีอาการอาเจียน และท้องร่วงร่วมด้วยในเด็กบางคน เด็กโตจะเริ่มด้วยอาการจาม คอแห้ง ปากแห้ง บางคนมีอาการหนาวๆร้อนๆและปวดเมื่อยตามตัว ตามมาด้วยน้ำมูกไหลซึ่งในระยะแรกจะเป็นน้ำมูกใสๆ ต่อมาจะปนสีเหลืองหรือเขียวหรือเป็นหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนนั่นเอง อาการต่างๆเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2 ถึง 7 วัน ถ้ามีอาการนานกว่านี้ให้สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน หรือมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหวัด โดยทั่วไปโรคหวัดในเด็กถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ มักจะหายเอง ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ถ้ามีอาการหวัดนานเกิน 7 วันแล้วไม่หาย…

เด็กอ้วน น่ารัก จริงหรอ?

เจ้าหนูจ้ำม่ำ เดินอุ้ยอ้าย ใครเห็นเป็นต้องเกิดอาการ มันเขี้ยว อยากเข้าไปฟัด ไปกอด แต่รู้หรือไม่ว่า ความน่ารักนั้นแฝงไว้ด้วยโรคร้ายที่พร้อมทำลายสุขภาพและเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตในอนาคตได้

ปรับพฤติกรรมการทานเพื่อลดอาการท้องผูกในลูกน้อย

อาการท้องผูกในเด็ก ถือว่าเป็นปัญหาที่พบได้มาก แต่ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง เพราะถือเป็นเพียงอาการหนึ่งซึ่งเกิดจากพฤติกรรม โดยพบว่าร้อยละ 95% ของอาการท้องผูกในเด็กนั้น มักเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

5 สาเหตุของอาการผิวหนังอักเสบภูมิแพ้

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (ATOPIC DERMATITIS)
โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่อาการเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว พบบ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ สาเหตุหลักมักเกิดจากปัจจัยพื้นฐานทางพันธุกรรม กล่าวคือ ในผู้ป่วยที่มีประวัติเยื่อบุตาอักเสบ แพ้อากาศ ไอ  จาม หรือหอบหืด มักจะมีคนในครอบครัวผู้ป่วยที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุต่าง ๆ เช่นกัน